วันศุกร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2559
10 อันดับคณะที่เด็กซิ่วออกเยอะที่สุด
ความถี่
%
ลำดับ 1 คณะวิทยาศาสตร์ (บริสุทธิ์ เคมี ชีวะ จุล) 22 หน่วย 29.33
2. คณะเทคนิคการแพทย์ (ไม่รวมกายภาพบำบัด) 15 หน่วย 20.00
3. คณะวิศวะกรรมศาสตร์ 12 หน่วย 16.00
4. มนุษยศาสตร์ 5 หน่วย 6.67
5. รัฐศาสตร์ 4 หน่วย 5.33
6. บริหาร(บัญชี) 4 หน่วย 5.33
7. พยาบาล 4 หน่วย 5.33
8. เภสัช 4 หน่วย 5.33
9. นิเทศ 3 หน่วย 4.00
10.ศิลปะศาสตร์
2 หน่วย 2.67
รวม 75 หน่วย 100 %
ซิ่วเพื่อเข้าคณะใหม่
ยอดนิยม ดังนี้
ความถี่
%
ลำดับ 1. คณะเภสัชศาสตร์ 21 หน่วย
21.64
2.คณะแพทยศาสตร์ 14 หน่วย 14.43
3.คณะวิศวกรรมศาสตร์ 12 หน่วย
12.37
4.คณะทัตแพทย์ศาสตร์ 10 หน่วย
10.30
5.คณะวิทยาศาสตร์ 9 หน่วย
9.27
6. รัฐศาสตร์ 8 หน่วย
8.27
7. บริหาร(บัญชี) 7 หน่วย
7.27
8. สัตวแพทย์ศาสตร์ 6 หน่วย
6.18
9. คุรุศาสตร์(ศึกษา) 6 หน่วย
6.18
10. สถาปัตยกรรม 4 หน่วย
4.12
รวม 97 หน่วย
100 %
จำนวนคนทั่วประเทศที่ซิ่วโดยประมาณ 9,000-10,000 คน
อ้างอิงจาก
เว็บไซต์เด็กดี
เรียบเรียงโดย
มติชนออนไลนน์
ที่มา http://www.unigang.com/Article/10434
เรียนคณะอะไร จบง่ายสุด/ จบยากที่สุด ซิ่วสูง !!
ข้อมูลชุดนี้ได้มาจาก
ม.เกษตรศาสตร์นะครับ ข้อมูลของแต่ละสถาบันอาจจะไม่เหมือนกันว่า 3 คณะไหนเมื่อเข้าศึกษาแล้วมีโอกาสที่จะสำเร็จการศึกษาสูงที่สุด
!!
1. คณะศึกษาศาสตร์ สำเร็จการศึกษา
94.23%
2. คณะเศรษฐศาสตร์
สำเร็จการศึกษา 90.51%
3. คณะบริหารธุรกิจครับ สำเร็จการศึกษา 89.95%
3. คณะบริหารธุรกิจครับ สำเร็จการศึกษา 89.95%
ต่อมาเข้าลองข้ามมาดูคณะ 3 อันดับแรกที่มีผู้สำเร็จการศึกษาน้อยที่สุดบ้าง
1. คณะวิทยาศาสตร์
สำเร็จการศึกษา 70.94%
2. คณะอุตสาหกรรมเกษตร สำเร็จการศึกษา 71.69%
3. คณะวิศวกรรมศาสตร์ สำเร็จการศึกษา 76.78
2. คณะอุตสาหกรรมเกษตร สำเร็จการศึกษา 71.69%
3. คณะวิศวกรรมศาสตร์ สำเร็จการศึกษา 76.78
สาเหตุที่ คนจบสายวิทย์น้อย
ผมมองว่าอัตราการซิ่วไปเรียนคณะอื่นสูงนะครับ อาจจะยังหาตัวเองไม่พบ
เรียนแล้วไม่ชอบเรียนยาก จริงไม่แปลกอะไรที่มีผู้สำเร็จการศึกษาน้อย ออกกลางทางสูง
โอกาสจบศึกษาศาสตร์สูงมาก
ที่มา http://www.unigang.com/Article/18511
เหตุผลเจ็บจี๊ด ทำไมวัยรุ่น เรียน แล้วต้อง ซิ่ว!
คณะที่ติดก็ไม่ใช่ คณะที่ใช่ก็ไม่ติด
เหตุผลนี้มีหลากหลายที่มา แต่บทสรุปที่เหมือนกัน
คือได้เรียนในคณะที่ไม่ใช่ เรียนไปแล้วมันไม่ใช่อะพี่ !! ให้ฝืนแค่ไหน
ยังไงก็ไม่อยากเรียนอยู่ดี มันเป็นความทรมานลึกๆ?ที่เด็กซิ่วทั้งหลายไม่สามารถบอกใครได้
ถึงแม้ว่ามีที่เรียนแต่ก็ไม่มีความสุขอยู่ดี ?คับที่อยู่ได้ คับใจอยู่ยาก? อยากจะออกจากที่นั่นไปทุกนาทีถ้าทำได้
แต่ด้วยความที่เราได้ที่นี่เราก็ต้องเรียน จะไม่เรียนก็ไม่ได้ครอบครัวจะว่ายังไง? จะถูกด่าว่าหยิ่ง ยโส
ไม่ดูมันสมองตัวเอง หรือเปล่า และอีกหลายๆ คำที่ต้องทนเก็บไว้
สิ่งที่ทำได้ก็มีเพียงแต่ทนเรียนต่อไป และอ่าน GAT PAT ไปด้วยเพื่อเตรียมสอบอีกครั้ง
เกียรติภูมิแห่งศักดิ์ศรี
ฉันต้องเข้า มหาวิทยาลัยดีมีชื่อเสียง
เหตุผลนี้สลับกับเหตุผลแรกเลยค่ะ
คือว่าได้คณะที่คิดว่าโอเคแล้วแต่ว่า??ที่ฉันเลือก ต้องได้มหาวิทยาลัยที่ดีกว่านี้ซิ??ซึ่งที่มาของเหตุผลนี้ก็มีที่มาหลายอย่างนะคะ
บางคนไม่อยากเรียนมหาวิทยาลัยนี้เพราะว่าอีกมหาวิทยาลัยมีการเรียนการสอนในคณะนี้ที่ดีกว่า
หรือบางคนไม่อยากเรียนมหาวิทยาลัยอยู่ไกลบ้าน ไม่อยากห่างครอบครัว พ่อแม่ พี่น้อง
เจ้าตูบเจ้าด่างก็ว่ากันไปเพราะคิดว่าถ้าไปไกลต้องเป็นโรค Homesick แน่นอน
แต่บางคนกลับให้เหตุผลที่ซิ่วเป็นเพราะว่ามหาวิทยาลัยที่ได้ยังไม่มีชื่อเสียงพอ
ต้องเข้ามหาวิทยาลัยที่เป็นอันดับหนึ่งหรือติดท็อปไฟว์ของประเทศไทยให้ได้ ทุกคนมีศักดิ์และศรีเท่ากันหมด
การที่ดูถูกคนอื่นมันก็คือความคิดที่ไม่เป็นมิตร
และอาจจะนำไปสู่แรงกดดันตัวเองมากเกินไป สุดท้ายก็จะสอบไม่ติดที่ไหนเลยก็เป็นได้นะ
สอบตรงก็ไม่ได้ แอดมิชชั่นก็ไม่ได้ รอบหลังแอดฯ ก็อดอีก
เมื่อเกิดเหตุการณ์แบบนี้เราคงกลับไปแก้ไขอดีตไม่ได้
แต่เราสามารถทำอนาคตให้ดีขึ้นได้ มีหลายทางให้เลือกเลยค่ะ
บางคนก็ไปเรียนม.รัฐที่เป็น ม.เปิด บางคนก็เรียนม.เอกชนรอไปก่อน
บางคนก็เข้าคอร์สเรียนพิเศษเตรียมตัวกับการสอบรอบใหม่
หรือบางคนก็อยู่บ้านอ่านหนังสือเอง! เลือกได้หลายวิธีเลยค่ะ พี่แป้ง อยากบอกว่าการที่เราไม่ติดที่ไหนเลยไม่ได้หมายความว่าเราไม่มีศักยภาพ?อะไรที่ผ่านไปแล้วก็ขอให้แล้วไป
ขอให้น้องๆ อ่านหนังสือ สะสมความรู้ไปเรื่อยๆ ยังไงก็ต้องประสอบความสำเร็จ เชื่อว่าถ้าคนหัวดีแต่ไม่ขยันยังไงก็แพ้คนหัวไม่ดีที่ขยัน
ครอบครัวกดดัน ยังไงก็ต้องเปลี่ยน
อุตส่าห์ได้คณะที่อยากเรียน มหาวิทยาลัยในฝันทันที?? แต่ว่าครอบครัวไม่ยอมรับซะนี่!!!!!? ยังไงเราก็ต้องซิ่วออกมา
เราเป็นคนเรียน แต่ว่าที่บ้านเป็นคนจ่ายเงิน
ยังไม่ปีกกล้าขาแข็งพอที่จะหาเงินเรียนเองนิ ส่วนเหตุผลที่บ้านอยากให้ซิ่วอาจจะเป็นเพราะว่า
จบไปจะทำงานอะไร เรียนหนัก เหนื่อย ดูไม่มีอนาคต ค่าเทอมแพง ไกลบ้าน หรืออื่นๆ
อีกหลายเหตุผล อยากจะให้ลองทำความเข้าใจกับที่บ้าน?ชี้แจงเหตุผลกันไปเลย?สมมติว่าถ้าถามว่าจบไปทำงานอะไร
เราก็ต้องหาข้อมูลให้ได้ว่ามีงานอะไรทำได้บ้าง หรือเราเรียนตั้งใจทำงานอะไร
พ่อแม่บางคนบอกว่าอาจจะส่งไม่ไหวนะ เราก็ทำเรื่องกู้กยศ.เลย
อย่างน้อยแบ่งเบาภาระได้บ้างก็ยังดี ถ้ากู้ไม่ได้ก็ต้องพยายามประหยัดที่สุด
หรือหาทางออกที่ดีที่สุด ไม่ใช่ว่าประชดประชันพ่อแม่นะคะ
เพราะถึงแม้จะเป็นอย่างไรก็ตาม ไม่มีพ่อแม่คนไหนหรอกค่ะที่อยากเห็นลูกตัวเองลำบากในอนาคต
หรือไม่รักลูกตัวเอง
เรียนมาตั้งนาน
เพื่อนก็ไม่มี คุยกับใครก็ไม่มีใครอยากคุย
อันนี้ไม่รู้จะเป็นปัญหา หรือเหตุผลดี แต่ พี่แป้ง
ว่ามันเป็นเหตุผลหนึ่งเลยนะที่ตัดสินใจที่จะซิ่ว คือได้คณะที่ชอบ
มหาวิทยาลัยที่ใช่ แต่ไม่มีความสุข รู้สึกว่าแตกต่างจากคนอื่นทั่งๆ
ที่ก็ห่างกันแค่รุ่นเดียวเอง มันเป็นความรู้สึกที่เหมือนว่า?อยู่ตัวคนเดียว?อยากให้คนอื่นยอมรับเรา
เข้าหาก็แล้ว ชวนคุยก็แล้วทำไมถึงยังไม่รู้สึกว่ามีเพื่อนสักทีละ
หรือบางคนบอกว่าเราก็เป็นเพียงเด็กบ้านนอกคนนึงมาเรียนที่เมืองกรุงรู้สึกว่าสังคมมันแตกต่าง
มีแต่ความฉาบฉวย ใส่หน้ากากเข้าหากัน ไม่อยากอยู่แล้ว
มีคนจำนวนไม่น้อยเลยที่เป็นแบบนี้
การที่เรียนคนเดียวในมหาวิทยาลัยที่กว้างขนาดนี้ทำให้รู้สึกว้าเหว่
ถ้าจะเริ่มแก้ก็ต้องเริ่มที่ตัวเราเองนั่นแหละค่ะ
ไม่ได้หมายความว่าต้องทำตัวให้เหมือนคนอื่นเพื่อให้คนอื่นยอมรับนะ
แต่ว่าต้องเข้มแข็งให้คนอื่นเห็นว่าเราก็ไม่ได้อ่อนแอนะ
ถ้าจะเรียนยากขนาดนี้ ซิ่วให้รู้แล้วรู้รอดกันไปเลย
เหตุผลนี้เรียกง่า
ๆ ว่าเรียนไม่ไหวนั่นเอง?เข้าไปเรียนแล้วเพื่อนก็โอเคนะ
บรรยากาศก็อยากเรียน แต่เนื้อหาวิชามันยากเกินกว่าจะเข้าใจนี่หน่า
หวั่นวิตกว่าจะไม่จบง่ายๆ นะซิ ซิ่วไปหาที่เรียนที่ง่ายกว่านี้ดีกว่า
อยากให้เลือกวิธีที่จะซิ่วเป็นทางสุดท้าย ไม่ได้ห้ามนะ
แต่ถ้าเป็นสิ่งที่อยากเรียนมันจะมีแรงบันดาลใจบางอย่างที่ทำให้เรามีความกระตือรือร้นที่จะเรียน
ลองให้เพื่อนช่วยสอนให้ ไปติวกับเพื่อนดูก่อนนะ
บางทีอาจจะยากเฉพาะวิชาที่เราไม่ถนัดก็ได้ ไม่มีใครถนัดไปซะทุกด้านหรอก
เอาไว้แบบว่าไม่ไหวจริงๆ เกรดหวิดโดนรีไทร์แน่ๆ ค่อยซิ่วออกมานะคะ พยายามเต็มที่
สู้ตาย (ชูสองนิ้วให้เลย)
เพราะไม่รู้ว่าชอบแบบไหน
เลยยังไปต่อไม่ได้สักที
ง่ายก็คือ ตอนนี้กำลังเคว้งคว้างนั่นเอง จะไปทางไหนดี เราถนัดทางไหน
เรียนอะไรที่คิดว่าสามารถเรียนได้โดยมีความสุขด้วย
ขอหยุดสักปีค้นหาตัวเองก่อนดีกว่า เฮ้อ เหตุผลนี้เป็นเหตุผลที่หาทางออกยากนะ?แนะนำให้เราถามตัวเองว่า??ทำไม?? ให้ลองพยายามหาคำตอบด้วยนะคะ
เพราะเราอาจจะได้คำตอบก็ได้ ก็ดีกว่าถามแล้วก็ปล่อยให้มันเป็นคำถามอยู่อย่างนั้น
เราก็จะไม่มีวันหาตัวเองเจอหรอกค่ะ
ที่มา http://m.eduzones.com/content.php?id=162255
สาเหตุที่ทำให้เด็กสอบได้คณะที่ไม่ชอบ เกิดปัญหาเด็กซิ่ว
ปัญหาที่ตามมาอีกประการคือเด็กสอบได้ แต่เมื่อเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยแล้วเรียนไม่ได้ โดยส่วนใหญ่ให้เหตุผลว่าสอบติดในคณะที่ไม่ชอบ ซึ่งอาจารย์อนุสรณ์กล่าวถึงที่มาว่า มีสาเหตุมาจาก
สาเหตุแรก คือ การออกแบบระบบการศึกษา แบบระบบสอบกลาง (Admission) เพื่อคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาของไทยนั้น ไม่มีการวางแผน ตั้งแต่มัธยมศึกษาตอนต้น ซึ่งมีเวลาเพียงพอให้เด็กเลือกเรียนในสิ่งที่ตรงกับความชอบ และความถนัด เป็นเป้าหมาย เช่น เด็ก ม.3 จะต้องรู้ว่าตนเองมีความถนัดในสาขาวิชาไหน และในอนาคตอยากทำสายอาชีพอะไร หรือเมื่อจบ ม.6 อยากศึกษาในคณะอะไร และมหาวิทยาลัยใด
สาเหตุที่สอง คือ เด็กบางคนไม่รู้จักตนเอง หรือยังไม่ค้นพบตนเอง จึงเลือกที่จะตามกระแส หรือบางคนเห็นว่าตัวเองเป็นคนเรียนดีก็สอบเข้าศึกษาในคณะที่เป็นที่นิยมตามเพื่อนไป เช่น แพทยศาสตร์ แต่เมื่อเรียนเแพทย์ไปสักระยะก็เปลี่ยนความคิด ออกมาสอบคณะวิศวะ หรือในทางกลับกันเรียนวิศวะก็ออกมาเรียนแพทย์ ซึ่งกลุ่มเหล่านี้เป็นเด็กเก่งจะเรียนอะไรก็ได้แต่ในวันที่เลือกนั้นยังไม่ค้นพบตนเอง
“วันนี้กระแสของแพทย์มาเป็นอันดับ 1 ร้อยละ 80% เด็กเก่งมีความพร้อมสูง จะมุ่งไปที่การเรียนแพทย์เพราะเป็นอาชีพที่มีรายได้ดี ส่วนที่พุ่งเป้าไปที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ในปัจจุบันนั้นกระแสลดลง เป็นเพราะตลาดงานวิศวะเริ่มแคบ และจำกัด คนที่เก่งจริงจึงจะได้งาน ในขณะที่แพทย์เรียนจบไม่มีคำว่าตกงาน และยังเป็นอาชีพที่ขาดแคลนบุคลากรอยู่มาก ซึ่งมีสถิติและงานวิจัยชี้ว่า คณะที่มีเด็กซิ่วเป็นอันดับหนึ่ง คือ คณะวิทยาศาสตร์ เพราะเมื่อสอบเข้าแพทย์ไม่ได้ตามที่ตั้งเป้าไว้ ก็จะย้อนกลับไปซิ่วใหม่เพื่อเรียนแพทย์ให้ได้”
สาเหตุที่สาม คือ ผู้ปกครองเป็นผู้กำหนด สิ่งที่เด็กอยากเรียนกับสิ่งที่พ่อแม่อยากได้คนละเรื่องกัน จะพบในกรณีเช่น เด็กสอบเข้าวิศวะคะแนนดีได้เป็นเบอร์ต้นๆ ของคณะ แต่ในปีต่อมาก็ลาออก ซิ่วไปสอบเข้าคณะเศรษฐศาสตร์ได้อันดับ 1 จนเรียนจบได้เกียรตินิยมเหรียญทอง ทราบที่มาว่าปีที่แล้วสอบให้พ่อแม่ ปีนี้จึงสอบที่ตัวเองอยากเรียน
“หลักสูตรการเรียนการสอนในบ้านเราไม่มีการฝึกเด็กให้ใช้ดุลพินิจ วิเคราะห์อย่างเป็นเหตุเป็นผล เด็กไปตามกระแส ก่อนหน้านี้คณะวิศวะดัง ปัจจุบันเป็นกระแสของแพทย์ ซึ่งเป็นเรื่องของวิชาชีพ รายได้ที่ดี และการยอมรับในสังคม สิ่งเหล่านี้ทำให้เด็กไม่ได้ค้นพบตัวเองว่าต้องการอะไร จึงเป็นหน้าที่ของระบบและครูที่ต้องแนะแนวให้เด็กมีความพร้อม เพื่อค้นพบตัวเองตั้งแต่ ม.3” อาจารย์อนุสรณ์กล่าว
กรณีศึกษาแอดมิชชั่นของประเทศอังกฤษ
อาจารย์อนุสรณ์กล่าวถึงโมเดลที่ประสบความสำเร็จ คือ ระบบกลางคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาของประเทศอังกฤษ ซึ่งเด็กไม่ต้องสอบคัดเลือกใดๆ ทั้งสิ้น แต่เป็นหน้าที่ของโรงเรียนระดับไฮสคูลที่จะต้องสอนและวัดผลการศึกษาของเด็ก ด้วยศักยภาพที่มีทำให้โรงเรียนที่มีคุณภาพในการสอนสูงจะมีการจัดอันดับ และยังสามารถคาดการณ์ได้อย่างแม่นยำว่า เมื่อถึงเวลาที่เด็กจะต้องทำข้อสอบส่วนกลางนั้นเด็กจะได้รับเกรดอะไร และโดยทั่วไปโรงเรียนที่มีคุณภาพในการสอนสูงจะได้รับการจัดอันดับอยู่ในระดับท็อป ซึ่งทุกอย่างชัดเจนด้วยสถิติ ส่วนมหาวิทยาลัยนั้น จะมีบทบาทในการสอบแอดมิชชั่น โดยหลังจากผ่านขั้นตอนที่เด็กส่งประวัติ ที่ประกอบด้วยคะแนนของโรงเรียน คอมเมนต์ความประพฤติ ความเด่นในแต่ละวิชา และการร่วมกิจกรรมอาสาสมัคร ไปยื่นต่อมหาวิทยาลัยที่ต้องการจะเข้าเรียนต่อแล้ว มหาวิทยาลัยจะคัดเลือกจากข้อมูลแล้วเรียกสัมภาษณ์ ซึ่งที่อังกฤษจะให้ความสำคัญกับการสัมภาษณ์มาก และหากผลลัพธ์การสัมภาษณ์สรุปความเห็นว่าหน่วยก้านดีพูดจาโต้ตอบฉะฉาน มีไหวพริบก็จะตกลงรับ ดังนั้นแต้มต่อจะอยู่ที่การสอบสัมภาษณ์ ซึ่งมาจากโรงเรียนเกรดใด ไม่ใช่ประเด็นสำคัญประการแรก ที่ผ่านมามีเด็กไทยหลายคนผ่านขั้นตอนการสัมภาษณ์ของมหาวิทยาลัยแล้วได้ศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ออกซ์ฟอร์ด โดยเมื่อสัมภาษณ์เสร็จแล้วก่อนจะตกลงรับเข้าเรียน ต้องผ่านการสอบวัดผลข้อสอบกลาง ซึ่งมี 2 มาตรฐาน คือ ข้อสอบออกซ์บริดจ์ที่สอบโดยอาจารย์มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดกับมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ขึ้นอยู่กับแต่ละโซนของประเทศจะเลือก หากสอบได้เกรด A 3 ตัวก็จะได้รับเลือกให้เรียนต่อระดับมหาวิทยาลัยทันที
สำหรับคนที่จะเรียนต่อแพทย์
ผลการเรียนด้านวิชาชีวะและวิชาเคมีต้องอยู่ในระดับ Excellence เด็กต้องมีการเรียนวิชาพื้นฐานหลักมาก่อน
หรือคนที่เรียนต่อด้านเศรษฐศาสตร์ ต้องเรียนวิชาเศรษฐศาสตร์ วิชาคณิตศาสตร์ขั้นสูง
และได้คะแนนระดับเกรด A เด็กที่จะเรียนต่อทางด้านไหนจึงต้องมีการเตรียมตัวเรียนวิชาพื้นฐานสำหรับระดับมหาวิทยาลัย
และมหาวิทยาลัยเองจะเรียกสัมภาษณ์ โดยคัดเลือกจากประวัติ รวมทั้งผลการเรียนที่สำคัญๆ
แล้วเขียนเป็นเรียงความ
ซึ่งเมื่อมหาวิทยาลัยได้ข้อมูลและผ่านการกลั่นกรองเป็นตัวหลักได้แล้ว
เมื่อจะสอบเข้าคณะไหนก็ต้องสอบ SAT ที่ถือว่าเป็นมาตรฐานอย่างหนึ่งที่คนทั่วโลกยอมรับและนำส่งคะแนน SAT ไปที่ส่วนกลาง
หลังจากนั้นจึงจะได้การตอบรับเข้าเรียนจากทางมหาวิทยาลัย
ซึ่งโมเดลนี้มองว่าจะทำให้เด็กไม่เครียด และวางแผนพุ่งเป้าไปข้างหน้าได้
ทั้งนี้ประเทศไทยไม่จำเป็นต้องนำโมเดลของประเทศอังกฤษมาใช้ทั้ง 100% แต่อาจจะนำบางแนวทางมาปรับใช้
เพราะถ้าใช้ทั้งหมดอาจไม่เหมาะกับประเทศไทย
แอดมิชชั่นของไทยที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร
เพราะไม่ได้เด็กตามคุณสมบัติที่ต้องการ จึงทำให้บางมหาวิทยาลัยมีการเปิดคัดเลือกเพิ่มเติมขึ้นมาเองด้วย
“ระบบการศึกษาของประเทศไทย ที่เกิดจากความไม่ลงตัว การเหลื่อมล้ำของเวลากันในการสอบเข้ามหาวิทยาลัย และการเรียนนั้น ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาของเด็กให้ด้อยลงไป เพราะนำไปสู่ปัญหาที่เมื่อเด็กเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยได้แล้ว ก็เรียนไม่ได้ต้องออกมาซิ่ว ขณะที่คนที่มีความพร้อมสูงกว่าจะมีโอกาสในการเตรียมตัวได้ดีกว่า
ที่ผ่านมานั้น นโยบายทางการศึกษาในทุกสมัยของไทย ฝ่ายการเมืองเป็นผู้กำหนด และออกมาเป็นกึ่งๆ ประชานิยมด้วยแนวคิดที่บอกว่า “ผู้เรียนประสงค์จะเรียนอะไรต้องได้เรียน” ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้บริหารต้องให้เด็กเรียนต่อทั้งๆ ที่เด็กเรียนต่อทางสายสามัญไม่ไหว จากผลผลิตนี้มาจนถึงปัจจุบันจะเห็นได้ว่า คนที่เรียนสายสามัญจนจบปริญญาตรีออกมาแล้วไม่มีคุณภาพมากขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้น การปรับเปลี่ยนโดยรื้อการศึกษาใหม่ทั้งระบบ สำหรับกระทรวงศึกษาธิการ ในยุครัฐบาลนี้ที่มีอำนาจเต็มมือจึงไม่ใช่เรื่องยาก สามารถเปลี่ยนได้ทันที” อาจารย์อนุสรณ์กล่าว
“ระบบการศึกษาของประเทศไทย ที่เกิดจากความไม่ลงตัว การเหลื่อมล้ำของเวลากันในการสอบเข้ามหาวิทยาลัย และการเรียนนั้น ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาของเด็กให้ด้อยลงไป เพราะนำไปสู่ปัญหาที่เมื่อเด็กเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยได้แล้ว ก็เรียนไม่ได้ต้องออกมาซิ่ว ขณะที่คนที่มีความพร้อมสูงกว่าจะมีโอกาสในการเตรียมตัวได้ดีกว่า
ที่ผ่านมานั้น นโยบายทางการศึกษาในทุกสมัยของไทย ฝ่ายการเมืองเป็นผู้กำหนด และออกมาเป็นกึ่งๆ ประชานิยมด้วยแนวคิดที่บอกว่า “ผู้เรียนประสงค์จะเรียนอะไรต้องได้เรียน” ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้บริหารต้องให้เด็กเรียนต่อทั้งๆ ที่เด็กเรียนต่อทางสายสามัญไม่ไหว จากผลผลิตนี้มาจนถึงปัจจุบันจะเห็นได้ว่า คนที่เรียนสายสามัญจนจบปริญญาตรีออกมาแล้วไม่มีคุณภาพมากขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้น การปรับเปลี่ยนโดยรื้อการศึกษาใหม่ทั้งระบบ สำหรับกระทรวงศึกษาธิการ ในยุครัฐบาลนี้ที่มีอำนาจเต็มมือจึงไม่ใช่เรื่องยาก สามารถเปลี่ยนได้ทันที” อาจารย์อนุสรณ์กล่าว
ที่มา http://m.manager.co.th/SpecialScoop/detail/9580000130145
“จะไปค่ายดีมั้ย? ไปค่ายแล้วได้อะไรล่ะ?”
1. ได้เพื่อน
แน่นอนว่าเราต้องได้เพื่อน แต่ไม่ใช่เพื่อนธรรมดานะ เป็นเพื่อนที่สนใจคณะเดียวกันกับน้อง ไม่ก็สนใจด้านเดียวกัน เช่นไปค่ายคอมฯ ก็ได้เจอเพื่อนที่สนใจในด้านคอมพิวเตอร์ด้วยกัน ทำให้เวลามีอะไรเกี่ยวกับด้านนี้ เราสามารถคุยกับเพื่อนคนนี้ได้น้า เพราะว่าถ้าเราไปคุยกับคนอื่นเขาอาจจะไม่รู้เรื่องกับเราก็ได้เนอะ
2. ได้รู้ตัวเองว่าอยากเข้าคณะอะไร
ข้อนี้สำคัญสุดเลยเพราะว่าบางทีเราอาจจะคิดว่าคณะนี้แหละใช่สำหรับเรา
แต่เราพอไปลองเข้าค่ายจริงๆ มันอาจจะไม่ใช่ก็ได้น้า บางคนไม่รู้ว่าอยากเข้าคณะอะไร
แต่ลองเข้าค่ายไปหลายๆ ค่ายน้องอาจจะค้นพบตัวว่าตัวเองชอบอะไรก็ได้น้า
พี่บอกเลยยิ่งเราค้นพบตัวเองว่าชอบอะไรก่อน ก็ยิ่งได้เปรียบสุดๆ
3. ได้รู้บรรยากาศภายในคณะ / มหาลัยนั้นๆ
แน่นอนเราจะได้สัมผัสบรรยากาศของการอยู่ในรั้วมหาวิทยาลัยก่อนใครๆ
และได้รับรู้บรรยากาศของรุ่นพี่ในคณะ ว่าคณะนี้มีความอบอุ่นมากเพียงใด
ซึ่งอาจจะเป็นหนึ่งในตัวเลือกที่เราจะเลือกเรียนต่อในคณะหรือมหาวิทยาลัยนั้นๆ
4. ได้ความรู้ที่ค่ายมอบให้
ไปค่ายมหาลัยแน่นอนน้องต้องได้เรียน
แต่จะเป็นวิชาอะไรก็แล้วแต่ทางค่ายนั้นจะเป็นคนเลือกมาให้น้องๆ
เรียนการเรียนนี่แหละมันจะทำให้เรารู้ว่าจริงๆ แล้วคณะนี้มันใช่สำหรับเรารึเปล่า
แต่บางค่ายก็มีการติวเข้ามหาลัยด้วยน้า อาจจะเป็นการทบทวนเนื้อหาของม.ปลายของเรา
ยังไงก็แล้วแต่เรารับความรู้มาไว้ก่อน พอถึงเวลาที่เราต้องใช้มันเราก็ได้นึกว่า
อ๋อ! พี่ค่ายนี้สอนเรามานี่หว่า
5. ได้รับมิตรภาพที่ทุกคนเต็มใจมาอยู่ด้วยกัน
ในระยะของวันค่ายบางคนก็คิดถึงบ้านบ้างแหละ
บางคนก็คิดถึงพี่แม่น้อง คิดถึงแฟน หรือคิดถึงน้องหมาแมวที่บ้าน
แต่น้องไม่ต้องเสียใจไปนะ น้องๆ ยังมีเพื่อนที่มาอยู่ค่ายด้วยกัน ที่น้องๆ
สามารถพูดคุยกับเพื่อนให้หายเหงาก็ได้นะ เผลอๆ น้องอาจจะได้เพื่อนสนิทต่างโรงเรียนเลยก็ได้นะครับ
ที่มา http://www.camphub.in.th/camptrick-why-wegotocamp/
5 อุปสรรคเรื่องเรียน ที่เป็นกับดักของเด็กยุคนี้
1. เรียนตามเพื่อนหรือตามกระแส
มีเด็กจำนวนมากเด็กที่ไม่รู้ว่าตัวเองชอบไม่ชอบอะไร ไม่รู้เป้าหมายในชีวิต ฉะนั้นช่วงที่ต้องมีการเลือกแผนการศึกษา เด็กเหล่านี้จึงเลือกเรียนตามเพื่อน ตามกระแสสังคม ตามคำบอกของครู ตามคำปลูกฝังของพ่อแม่ เช่น เรียนให้เก่งจะได้ไปเป็นหมอ วิศวะ หรือไม่ก็ถูกปลูกฝังให้เลือกเรียนแผนวิทย์ - คณิต ไว้ก่อนด้วยเหตุผล เพราะมีทางเลือกเยอะ ทั้งที่เด็กอาจไม่ชอบ สุดท้ายเขาก็ไม่ได้เรียนในสิ่งที่ถนัดหรือที่ชอบ เมื่อเรียนจบออกมา เด็กจำพวกนี้มักจะเปลี่ยนสายงานไปเรื่อยๆ และไม่ได้ทำงานในสายที่ตัวเองจบมา
2. เรียนสาขาที่อยากได้เงินเยอะ
นี่เป็นอีกปัญหาใหญ่ที่เด็กๆ ทุกยุคทุกสมัยถูกปลูกฝังจากพ่อแม่ผู้ปกครองให้เลือกเรียนตั้งแต่แยกแผนการศึกษาในระดับมัธยมศึกษา เพื่อเตรียมการสำหรับเอ็นทรานส์เข้ามหาวิทยาลัย โดยมีเป้าหมายให้เลือกคณะที่มีโอกาสสร้างรายได้จำนวนมาก เรียกว่าเลือกเพราะเงินมากกว่าเลือกเพราะตัวเองถนัดหรือชอบ สุดท้ายก็ไม่รู้ว่าจะได้เงินดีเหมือนที่ตั้งเป้าไว้หรือเปล่า เพราะส่วนใหญ่มักคิดคล้ายๆ กัน เหมือนที่เคยเกิดขึ้นบ่อยๆ เป็นกระแส เช่น แห่กันเข้าคณะใดคณะหนึ่งจำนวนมาก และสุดท้ายก็ต้องไปแย่งงานกันจำนวนมากเมื่อจบไปแล้วอยู่ดี
3.เรียนกวดวิชาอย่างหนัก
พ่อแม่ทุกคนมักคาดหวังให้ลูกเรียนสูงๆ สอบติดมหาวิทยาลัยดังๆ โดยเห็นว่าความรู้ที่ลูกได้จากรั้วโรงเรียนไม่เพียงพอ ระบบการศึกษาโรงเรียนไม่ได้ให้ความมั่นใจกับพ่อแม่และผู้คนในสังคม เมื่อพ่อแม่แทบทุกคนอยากให้ลูกเข้ามหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียง ย่อมอยากให้ลูกเรียนชั้นมัธยมศึกษาที่มีชื่อเสียงก่อน บางคนเริ่มตั้งแต่ระดับประถมศึกษาหรือระดับอนุบาล จึงมีพ่อแม่จำนวนมากส่งให้ลูกเรียนพิเศษกับโรงเรียนกวดวิชาดังๆ แม้จะแพงแสนแพงแต่ก็ยอมหาเงินมาให้ลูกเรียนพิเศษให้ได้ เพราะหวังว่าจะทำให้ลูกเรียนดี เรียกว่าระห่ำเรียนกวดวิชาตั้งแต่เล็กจนโต เรียนทั้งวันธรรมดาและวันหยุด หรือแม้กระทั่งช่วงปิดเทอม เด็กๆ ก็เรียนรู้ว่าต้องเรียน และต้องเรียน
4.เรียนในชั้นเรียนไม่เข้าใจ
ปัญหานี้มีมาโดยตลอด ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใด ระหว่างเด็กไม่ตั้งใจเรียน หรือครูไม่มีเทคนิคการเรียนการสอนที่ดี ก็เป็นเรื่องที่วิพากษ์วิจารณ์มายาวนาน และก็ไม่เคยได้รับการแก้ไขอย่างจริงจังและถูกวิธี สุดท้ายเมื่อเด็กเรียนในชั้นไม่เข้าใจ ก็ต้องไปกวดวิชาอยู่ดี อีกประเด็นปัญหาหนึ่งก็คือ ปัญหาเรื่องบุคลากรทางการศึกษาในบ้านเรายังขาดแคลนคุณภาพอยู่มาก มีภาพสะท้อนจากเด็กว่าทำไมครูสอนในห้องเรียนไม่รู้เรื่อง แต่กลับสอนพิเศษรู้เรื่อง ทำไมครูไม่หาวิธีการสอนที่สนุก ทำไมเวลาสอนต้องอ่านตามหนังสือ ฯลฯ สรุปก็คือไม่สามารถทำให้เด็กมีความสุขกับการเรียน
5. เรียนเพื่อสอบไม่ใช่เพื่อรู้
การเรียนการสอนในบ้านเรายังเป็นรูปแบบเรียนเพื่อสอบมากกว่าเรียนเพื่อความรู้ เชื่อหรือไม่เด็กไทยเรียนหนักมากที่สุดในโลก แต่ไม่สามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตจริงได้ ทั้งนี้ เนื่องจากระบบการศึกษาไม่ได้ตอบสนองต่อการนำความรู้ที่ได้ไปตอบโจทย์การทำงานจริงในอนาคต แต่กลับเน้นการวัดผลคะแนนและการสอบเป็นหลัก จนมีเสียงสะท้อนเกี่ยวกับการศึกษาจากผู้บริหารชั้นนำของไทยที่รับเด็กเข้าทำงาน พบว่าเด็กไม่มีความรู้ ไม่มีความสามารถในแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ นั่นเป็นเพราะสิ่งเหล่านี้ไม่มีสอนในตำราเรียนนั่นเอง
อุปสรรคต่างๆ ในระบบเหล่านี้ ล้วนแล้วแต่ทำให้เด็กๆ ขาดทักษะชีวิตในการเรียนรู้จักตัวเอง ไม่สามารถค้นหาความถนัดและความสามารถของตัวเองว่าทำสิ่งใดได้ดี
ที่มา http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9580000034566
เลือกคณะที่ใช่ จากวิชาที่ชอบ
กลุ่มที่ 1 คนที่ชอบเฉพาะวิชาภาษา
(ภาษาไทย
ภาษาอังกฤษ ภาษาต่างประเทศ ภาษาต่างประเทศอื่นๆ อาทิ จีน ญี่ปุ่น เกาหลี
ฝรั่งเศสรัสเซีย)
-คณะอักษรศาสตร์ สาขาวิชาที่เกี่ยวกับภาษา
-คณะมนุษยศาสตร์ สาขาวิชาที่เกี่ยวกับภาษา
-คณะโบราณคดี สาขาวิชาที่เกี่ยวกับภาษา
กลุ่มที่2 คนที่ฃอบวิชาภาษา+สังคมศึกษา
-คณะนิติศาสตร์
-คณะรัฐศาสตร์
สาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
-คณะมนุษยศาสตร์ สาขาปรัชญาชีวิต และศาสนา
สาขาการท่องเที่ยว สาขาวิชาการสื่อสาร มวลชน สาขาสารสนเทศศาตร์
สาขาพัฒนาสังคม
-คณะอักษรศาสตร์ สาขาภูมิศาสตร์และภูมิสารสนเทศ
-คณะเศรษฐศาสตร์ สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ
-คณะจิตวิทยา สาขาจิตวิทยาชุมชน สาขาจิตวิทยาคลินิก
สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษา
กลุ่มที่3 คนที่ชอบวิชาภาษา+คณิตศาสตร์+คอมพิวเตอร์
-คณะบรรณารักษ์ศาสตร์ สาขาบรรณารักษ์ศาสตร์ และสารสนเทศศาสตร์
กลุ่มวิชาสังคมศึกษา
กลุ่มที่1 คนที่ฃอบหน้าที่พลเมือง
-คณะนิติศาสตร์
-คณะรัฐศาสตร์ สาขาวิชาการปกครอง
สาขาวิชาสังคมวิทยาและมนุษยวิทยา สาขาวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
- คณะสังคมศาสตร์ สาขาวิชารัฐศาตร์-การปกครอง สาขาวิชารัฐศาตร์-รัฐประศาสนศาสตร์
กลุ่มที่2 คนที่ขอบวิชาศาสนา
-วิทยาลัยศาสนศึกษา
กลุ่มที่3 คนที่ชอบวิชาเศรษฐศาสตร์
-คณะบริหารธุระกิจ สาขาการจัดการผลิต สาขาการจัดการโลจิสติกระหว่างประเทศ
สาขาวิชาการบริหารธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
กลุ่มที่4 คนที่ชอบวิชาเศรษฐศาสตร์+คอมพิวเตอร์
-คณะบริหารธุระกิจ สาขาระบบสนเทศทางการจัดการ(คอมพิวเตอร์ธุรกิจ)
กลุ่มที่5 คนที่ขอบประวัติศาสตร์
-คณะสังคมสงเคราะห์
-คณะโบราณคดี สาขาโบราณคดี สาขาประวัติศาสตร์ศิลปะ
สาขาวิชามนุษยวิทยา
-คณะสังคมศาสตร์ สาขาวิชาสังคมศาสตร์ สาขาวิชาประวัติศาสตร์
กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์
กลุ่มที่1 คนที่ชอบเฉพาะวิชาคณิตศาสตร์
-คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี สาขาวิชาการตรวจสอบบัญชีและการตรวจสอบภายใน
สาขาวิชาการบัญชีบริหาร
สาขาวิชาการธนาคารและการเงิน สาขาวิชาสถิติคณิตศาสตร์
กลุ่มที่2 คนที่ชอบวิชาคณิตศาสตร์+คอมพิวเตอร์
-คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
สาขาระบบสารสนเทศทางการจัดการ
สาขาวิชาระบบสารสนเทศทางการบัญชี สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อะธุรกิจ
สาขาวิชาสถิติประยุกต๋์
กลุ่มที่3 คนที่ชอบคณิตศาสตร์+สังคม
-คณะบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการจัดการเพื่อผู้ประกอบการธุระกิจ
สาขาวิชาการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ
-คณะรัฐศาสตร์
สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์(บริหารรัฐกิจ)
-คณะเศรษฐศาสตร์
สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การคลัง สาขาเศรษฐศาสตร์การเงิน สาขาวิชา
เศรษฐศาสตร์พัฒนาการ สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์แรงงานและทรัพยากรมนุษย์
กลุ่มที่4 คนที่ชอบวิชาคณิตศาสตร์+เคมี
-คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาเคมี สาขาวิชาวิศวกรรมวัสดุ
กลุ่มที่5 คนที่ชอบวิชาคณิตศาสตร์+ชีววิทยา
-คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
กลุ่มที่6 คนที่ชอบวิชาคณิตศาสตร์+ฟิสิกส์
-คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า
สาขาวิศวกรรมไฟฟ้าเครื่องกลการผลิต สาขาวิศวกรรมเครื่องกล สาขาวิศวกรรมโยธา
สาขาวิศวกรรมอุตสาหกรรม
กลุ่มที่7 คนที่ชอบวิชาคณิตศาสตร์+ฟิสิกส์+คอมพิวเตอร์
-คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
สาขาวิศวกรรมซอฟแวร์และความรู้
-คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
สาขาระบบอิเล็กทรอนิกส์
สาขาวิศวกรรมซอฟแวร์
กลุ่มที่8 คนที่ชอบวิชาคณิตศาสตร์+วิทยาศาสตร์+ศิลปะ
-คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาวิชาการออกแบบอุตสาหกรรม สาขาวิชาภูมิสถาปัตยกรรมศาสตร์
สาขาวิชาการวางแผนภาคและเมืองหรือสาขาการออกแบบและวางผังชุมชนเมือง
กลุ่มวิชาวิทยศาสตร์
กลุ่มที่1 คนที่ชอบวิชาดาราศาสตร์
-คณะวิทยาศาสตร์
สาขาวิชาฟิกส์ สาขาวิชาฟิกส์ดาราศาสตร์
กลุ่มที่2 คนที่ชอบวิชาฟิสิกส์
-คณะวิทยาศาสตร์
สาขาวิชาฟิกส์
สาขาวิชาธรณีวิทยา
กลุ่มที่3 คนที่ชอบวิชาเคมี
-คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ สาขาวิชาเคมีอุตสาหกรรม
-คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาเคมี สาขาวิชาเคมีอุตสาหกรรม
-คณะเทคนิคการแพทย์
กลุ่มที่4 คนที่ชอบชีววิทยา
-คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาพฤกษศาสตร์ สาขาวิชาสัตววิทยา
สาขาวิชาพันธุศาสตร์ สาขาวิชาการจุลชีววิทยา
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพรังสี
-คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์
สาขาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม สาขาวิทยาศาสตร์ทางทะเล สาขาวิทยาศาสตร์พื้นพิภพ
กลุ่มที่5คนที่ชอบวิชาฟิสิกส์+คอมพิวเตอร์
-คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
-คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
-คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
กลุ่มที่6 คนที่ชอบวิชาเคมี+ชีววิทยา+ศิลปะ
-คณะเภส้ชศาสตร์
-คณะทันตแพทยสาสตร์
กลุ่มที่7คนที่ชอบวิชาเคมี+ชีววิทยา+สุขศึกษา
-คณะกายภาพบำบัด
-คณะสหเวชศาสตร์
กลุ่มที่8 คนที่ชอบวิชาเคมี+ชีววิทยา+ภาษาอังกฤษ
-คณะแพทยศาสตร์
-คณะทันตแพทยสาสตร์
-คณะเภส้ชศาสตร์ สาขาวิชาการเภสัชพฤกษศาสตร์
-คณะสัตวแพทย์
-คณะพยาบาลศาสตร์
กลุ่มที่9 คนที่ชอบวิชาเคมี+ชีววิทยา+ภาษาอังกฤษ+การงานอาชีพและเทคโนโลยี
-คณะทันตแพทยสาสตร์
-คณะเภส้ชศาสตร์ สาขาสารสนเทศทางสุขภาพ
-คณะเกษตร สาขาวิชาเคมีการเกษตร
กลุ่มที่10 คนที่ชอบวิชาเคมี+ชีววิทยา+ภาษาอังกฤษ+คอมพิวเตอร์
-คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
สาขาวิชาการเทคโนโลยีการศึกษาแพทยศาสตร์
-คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อระบบสุขภาพ
สาขาวิชาการจัดการจัดการระบบสารสนเทศ
กลุ่มที่11 คนที่ชอบชีววิทยา+การงานอาชีพและเทคโนโลยี
-คณะวนศาสตร์
สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรป่าไม้
สาขาเทคโนโลยีวนศาสตร์ สาขาวิชาอุทยาน นันทนาการ และการท่องเที่ยว
-คณะประมง สาขาวิฃาชีววิทยาประมง
สาขาวิชาเพาะเลี้ยงสัตว์นำ้ สาขาวิชาการจัดการประมง
คณะเกษร
สาขาวิชาอาหารและโภชนาการ สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ สาขาวิชาการจัดการศัตรูพืชและสัตว์
-คณะสาธารสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม สาขาวิชาการจัดการสุขภาพชุมชน
สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม
กลุ่มที่12 คนที่ชอบชีววิทยา+คณิตศาตร์+สุขศึกษาและพลศึกษา
-คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
-คณะสาธารสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม
สาขาวิชาสุขศึกษาและพฤติกรรมสุขภาพ
กลุ่มวิชาศิลปศาสตร์
กลุ่มที่1 คนที่ชอบเฉพาะวิชาศิลปะ
-คณะศิลปศาสตร์
สาขาวิชาการออกแบบแฟชั่นและสิ่งทอ สาขาการออกแบบผลิตภัณฑ์
สาขานฤมิตสิลป์
-คณะจิตรกรรม
ประติมากรรม และภาพพิมพ์ สาขาวิชาทัศนศิลป์
วิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี
กลุ่มที่1คนที่ชอบเฉพาะวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี
-คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์(อาหารและโภชนาการ)
สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์(สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม)
กลุ่มที่2 คนที่ชอบวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี+ภาษา
-คณะมนุษศาสตร์และการจัดการการท่องเที่ยว
-คณะการการท่องเที่ยวและการโรงแรม
กลุ่มที่3 คนที่ชอบวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี+ศิลปะ
-คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาสถาปัตยกรรมภายใน(มัณฑนศิลป์)
สาขาวิชาการออกแบบ
นิเทศศิลป์
สาขาการออกแบบผลิตภัณฑ์ สาขาวิชาการออกแบบสิ่งทอ
-คณะเทคโนโลยีมีเดียและศิลป์ประยุกต์
สาขามีเดยอาร์ต
สาขาวิชาเทคโนโลยีมีเดียประยุกต์
-คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี
สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ประยุกต์มัลติมิเดีย
กลุ่มวิชาดนตรี
กลุ่มที่1 คนที่ชอบเฉพาะวิชาดนตรี
-คณะศิลปศาสตร์
สาขาวิชาดุริยางคศิลป์
-คณะดุริยางคศิลป์สาขาดุริยางคศิลป์ไทย
สาขาดุริยางคศิลป์ตะวันตก
กลุ่มวิชานาฎศิลป์
-คณะนิเทศศาสตร์ สาขาวิชาศิลปะการแสดง
-คณะศิลปศาสตร์
สาขาวิชานาฎศิลป์
ที่มา http://www.dek-d.com/admission/38355/
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)